กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สมาคมฯ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกาแฟ จัดการประกวดสุดยอดกาแฟ อาราบิกาและโรบัสตา
โดยในครั้งนี้เป็นการจัดการประกวดกาแฟที่จัดขึ้นโดยภาครัฐฯ โดยมีองค์กรเอกชนที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินคุณภาพกาแฟจากหลากหลายสาขามาร่วมเป็นหนึ่งในผู้ทรงคุณวุฒิ ตัดสินคุณภาพของกาแฟจากเกษตรกรที่ส่งเข้าประกวด จึงมั่นใจได้ว่าการประกวดกาแฟในครั้งนี้ จะมีมาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถืออีกงานหนึ่งของประเทศไทย
การประกวดสุดยอดกาแฟไทย 2564 ที่จัดขึ้นมาในปีนี้ ไม่ใช่เป็นการจัดการประกวดเป็นปีแรก โดยสถาบัน พืชสวน กรมวิชาการเกษตร แต่มีการจัดประกวดสุดยอดกาแฟมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดจัดไปเมื่อวันที่ 14 -17 กุมภาพันธ์ 2019 ในงาน “ASEAN COFFEE INDUSTRY DEVELOPMENT CONFERENCE” ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนั้นผู้ชนะเลิศคือคุณบงกชษศฎา ไชยพรหม หรือพี่โสภา (Sopa’s Estate) โดยได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า “กาแฟนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยที่สร้างมูลค่าถึง 33,000 ล้านบาท สร้างรายได้แก่เกษตรกรและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยประเทศไทยมีสภาพพื้นที่ที่สามารถปลูกกาแฟได้ทั้งกาแฟอาราบิกาและโรบัสตา ซึ่งปัจจุบันผลผลิตกาแฟอาราบิกาในภาคเหนือของไทยมีปริมาณ 9.2 พันตัน ส่วนการผลิตกาแฟโรบัสตาของไทย ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายให้ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูป แต่ปัจจุบันมีกระบวนการแปรรูปเพื่อให้ได้กาแฟโรบัสตาที่มีรสชาติโดดเด่น ทำให้ผู้บริโภคเริ่มมีความนิยมในการบริโภคกาแฟโรบัสตาเป็นกาแฟสดด้วยเช่นกัน”
นอกจากนั้นแล้ว การจัดงานประกวดกาแฟของปี 2564 นี้ ยังได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจำนวน 1 ล้านบาทจากองค์การกาแฟระหว่างประเทศให้แก่ประเทศไทยในฐานะที่เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก เพื่อประชาสัมพันธ์กาแฟไทย สร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย
ซึ่งในปีนี้ นอกจากจะมีหน่วยงานภาครัฐฯ หลายหน่วยงานเข้าร่วมการจัดประกวดสุดยอดกาแฟไทย 2564 แล้ว ยังมีสมาคมกาแฟต่างๆ เข้ามาร่วมกันทำงานนี้มากมาย เช่น สมาคมชาและกาแฟไทย สมาคมกาแฟไทย สมาคมบาริสต้าไทย เป็นต้น มีอนุกรรมการวิเคราะห์กายภาพและคั่วกาแฟที่ส่งเข้าประกวดก็ต่างเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการคั่วกาแฟ เช่น คุณโกเมท เพชรราม คุณปัญญา อัมพวานันท์ คุณอธิปต์พง ตั้งศุภธวัช และคุณเดชาธร ภัชรวัฒนาสกุล ซึ่งจะมีหน้าที่คัดเลือกเมล็ดกาแฟและคั่วกาแฟที่ส่งเข้าประกวด เพื่อนำไปใช้ประเมินคุณภาพต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกภาคส่วนหนึ่งในการตัดสินการประกวดกาแฟในครั้งนี้
นอกจากอนุกรรมการวิเคราะห์กายภาพและคั่วกาแฟแล้ว ยังมีคณะอนุกรรมการตัดสินการประกวด ซึ่งถูกแบ่งคณะกรรมการออกเป็น 2 ชุด ด้วยกัน คือคณะกรรมการตัดสินกาแฟอาราบิกาและคณะกรรมการตัดสินกาแฟ
โรบัสตา สำหรับคณะกรรมการตัดสินการประกวดกาแฟอาราบิกาประกอบด้วย
มิสเตอร์จอห์น แซนเดอร์ สมาคมกาแฟพิเศษเป็นประธานอนุกรรมการ
นางสาวนฤมล ทักษอุดม สมาคมชาและกาแฟไทย
นายวรงค์ ชลานุชพงศ์ นานาคอฟฟี่โรสเตอร์
นายแพทย์สุรเวศ น้ำหอม คิวเกรดเดอร์
นายนพดล ทินรัตน์วรกุล โรงคั่วกาแฟอคาบา
นายณัฐจักร พิทักษ์ภูวดล คิวเกรดเดอร์
ทันตแพทย์ชาคริต กาญจนพิศาล คิวเกรดเดอร์
นายนิวัติ บรรจบพุทรา คิวเกรดเดอร์
นางสาวธัญขนก ศรีสุขโข คิวเกรดเดอร์
นางสาวศิริภรณ์ จรินทร นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
คณะกรรมการตัดสินการประกวดกาแฟโรบัสตาประกอบด้วย
นายโกเมศ สัตยาวุธ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ เป็นประธานอนุกรรมการ นายชาตรี ตรีเลิศกุล คิวเกรดเดอร์ นายสุทัศน์ ทีฆบรรณ มอนโตเร คอฟฟี่ นายอนุวัฒน์ กอบน้ำเพ็ชร คิวเกรดเดอร์ นายสุพจน์ กรประสิทธิ์วัฒน์ โรบัสตาคิวเกรดเดอร์ นายศักดิ์ชัย นุ่นหมิ่น โรบัสตาคิวเกรดเดอร์ นายสาโรจน์ อินทร์เทพ คิวเกรดเดอร์ นางสาวดารากร เผ่าชู นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
โดยมีเกณฑ์หรือกระบวนการพิจารณาคัดเลือกดังนี้
1 รับกาแฟกะลาเข้าโรงเก็บที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่เหียะ) จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกาแฟอาราบิกา และที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร จังหวัดชุมพร สำหรับกาแฟโรบัสตา
2 ตรวจเอกสาร บันทึก ชั่งน้ำหนัก พร้อมบรรจุใหม่
3 รันหมายเลขตัวอย่างใหม่ที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่เหียะ) จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกาแฟอาราบิกา และที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร จังหวัดชุมพร สำหรับกาแฟโรบัสตา
4 สีกาแฟทั้งหมดแล้วสุ่มเก็บตัวอย่าง 350 กรัม
5 ตรวจสอบคุณภาพสารกาแฟที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (แม่เหียะ) จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับกาแฟ
อาราบิกา และที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร จังหวัดชุมพร สำหรับกาแฟโรบัสตา
6 รับตัวอย่างสารกาแฟเพื่อคั่วที่สถาบันวิจัยพืชสวน
7 คั่วกาแฟตัวอย่างที่สถาบันวิจัยพืชสวน
8 รันหมายเลขตัวอย่างใหม่ ที่สถาบันวิจัยพืชสวน
9 ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส (cupping) ที่สถาบันวิจัยพืชสวน
10 สรุปผลคะแนนทั้งหมด
11 ประกาศผล
โดยคณะกรรมการตัดสิน สำหรับ physical grading และ cupping test ตามเกณฑ์ SCA โดยเกณฑ์การตัดสิน (cupping test) แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1 คุณภาพด้านกลิ่น : มีกลิ่นหอม และมีความหนักแน่นของกลิ่น 2 คุณภาพด้านรสชาติ : ได้แก่ รสชาติ (Flavor) กรดเปรี้ยว (Acidity) เนื้อสัมผัส (Body) ความรู้สึกหลังซิม (After Taste) และความชอบโดยรวม (Overall acceptance) 3 คุณภาพอื่นๆ ได้แก่ ข้อบกพร่อง ขนาดและความสมบูรณ์ของเมล็ด เมล็ดถูกแมลงทำลาย
การประกวดสุดยอดกาแฟไทย 2564 ครั้งนี้ มีรางวัลที่ 1 เป็นถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพ
กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พร้อมเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท จำนวน 2 รางวัล ประเภทคุณภาพกาแฟระดับโดดเด่น ระดับคะแนนสูงสุด ของกาแฟอาราบิกาและกาแฟโรบัสตา รางวัลที่ 2 เงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท 2 รางวัล ประเภทคุณภาพกาแฟระดับโดดเด่น ระดับคะแนนสูงสุดรองลงมาจากรางวัลที่ 1 ของกาแฟอาราบิกาและกาแฟโรบัสตา รางวัลที่ 3 เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท 2 รางวัล ประเภทคุณภาพกาแฟระดับโดดเด่น ระดับคะแนนสูงสุดรองลงมาจากรางวัลที่ 1 ของกาแฟอะราบิกาและกาแฟโรบัสตา
เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมส่งกาแฟเข้าประกวด สามารถรับเอกสารการสมัคร ภายในวันที่ 1 -31 มีนาคม 2564 พร้อมส่งเอกสาร และแนบเอกสาร คุณสมบัติเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณา ได้ที่
- ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (กาแฟอาราบิกา) โทรศัพท์ 0 5311 4133 - 6 และศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร (กาแฟโรบัสตา) โทรศัพท์ 0 7755 6073 หรือเว็บไซต์สถาบันวิจัยพืชสวน http://www.doa.go.th/hort และ Facebook : Horticulture Research Institute
Facebook: Cm.Khunwang
Facebook: hort.chrc
การประกาศผลการประกวดทั้งกาแฟอาราบิกาและโรบัสตาจะมีขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 และจะมีพิธีมอบถ้วยรางวัล ใบประกาศนียบัตรและเงินรางวัล ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ต่อไป
Comentários