top of page
Writer's picturecoffeetravelermag

🌍 การเก็บกาแฟของ Sucafina Specialty ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 🌱

เส้นทางกาแฟในปัจจุบันถือว่าไปไกลกว่าในอดีตอย่างเห็นได้ชัด เพราะทั้งตัวเกษตรกรเอง และผู้รับซื้อกาแฟต่างก็เข้าใจในเรื่องของคุณภาพมากกว่าเมื่อก่อน ทำให้มีการพูดถึงเรื่องการรักษาคุณภาพของกาแฟมากขึ้น อีกทั้งยังมีการวิจัยในหลายๆ เรื่องถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพกาแฟออกมาให้เราได้ศึกษาอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่กระบวนการปลูก, processing และรวมถึงการจัดเก็บอีกด้วย และแน่นอนว่าทุกกระบวนการของการผลิตกาแฟล้วนมีผลกระทบต่อคุณภาพกาแฟทั้งสิ้น


การจัดเก็บกาแฟก่อนที่จะนำมาจำหน่ายก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าจัดเก็บอย่างไรที่จะไม่ไปบั่นทอนรสชาติหรือคุณภาพของกาแฟ

การจัดเก็บกาแฟก่อนที่จะนำมาจำหน่ายก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าจัดเก็บอย่างไรที่จะไม่ไปบั่นทอนรสชาติหรือคุณภาพของกาแฟ ซึ่งอย่างที่รู้กันดีว่าในด้านของการเก็บรักษานั้นปัจจัยหลักๆ ที่จะส่งผลต่อคุณภาพของกาแฟ ได้แก่ ออกซิเจน อุณหภูมิ และความชื้น ทำให้คลังจัดเก็บกาแฟขนาดใหญ่มีการติดตั้งระบบปรับอากาศขึ้น (Air Conditioning System) ซึ่งการปรับอากาศโดยระบบปรับอากาศมีการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



เมื่อไม่นานมานี้ บทความของ Sucafina Specialty ได้มีการพูดถึงการปรับปรุงวิธีการเก็บกาแฟ โดยทีมงานควบคุมคุณภาพ (QC: Quality Control) ในเอเชียแปซิฟิกได้ทำการทดสอบเป็นระยะเวลา 9 เดือน เพื่อกำหนดวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาคุณภาพกาแฟ ในขณะที่ทาง Sucafina Specialty เองก็ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วยเช่นกัน ซึ่งประเมินความแตกต่างระหว่างโกดังจัดเก็บที่มีและไม่มีระบบปรับอากาศ อย่างที่เราทราบกันว่าการปรับอากาศให้การจัดเก็บกาแฟคือการรักษาความชื้นและอุณหภูมิให้คงที่ การทดสอบในครั้งนี้ทีม QC จะพิจารณาถึง cupping quality ว่าแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างจัดเก็บแบบมีและไม่มีการปรับอากาศ ในการเริ่มต้นของการทดสอบ ทีมงานได้เลือกกาแฟเกรดต่างๆ ทั้งแบบพิเศษและเชิงพาณิชย์ เพื่อเก็บไว้ในโกดัง 2 แห่งใน Tsuen Wan เกาะฮ่องกง โดยแห่งหนึ่งมีการปรับอากาศและอีกแห่งหนึ่งไม่มีการปรับอากาศในโกดังจัดเก็บกาแฟ โดยใช้เวลาทดสอบเป็นระยะเวลา 9 เดือน กาแฟทั้งหมดเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท และใช้เครื่องวัดอุณหภูมิ รวมถึงเครื่องวัดความชื้นแบบดิจิตอล LCD HTC-1 H596 เพื่อบันทึกอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ทุกวัน นอกจากนี้ยังมีการสุ่มตัวอย่างทุกสิ้นเดือนในช่วง 9 เดือนที่ทำการทดสอบ โดยนำตัวอย่างจากถุงแต่ละใบไปตรวจสอบความชื้นและความหนาแน่น จากนั้น ทีม QC ของฮ่องกงได้ใช้ SCAA Cupping Protocols เพื่อประเมินคุณภาพ ผลการทดสอบสรุปได้ว่า แม้ความชื้นและอุณหภูมิในโกดังที่ไม่มีการปรับอากาศจะมีความแตกต่างจากโกดังที่มีการปรับอากาศ แต่คะแนนของการคัปปิ้งไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีผล Cupping notes คือ cocoa powder, low sweetness, nutty, walnut, peanut, brown spice, dark chocolate, almond, และ woody ดังนั้นเงื่อนไขของการมีหรือไม่มีการปรับอากาศไม่ได้ยับยั้งรสชาติของกาแฟ และลักษณะของคาแรคเตอร์ที่จืดจางจะเริ่มปรากฏขึ้นหลังจากการเก็บรักษา 9 ถึง 12 เดือน นอกจากนี้ยังพบว่ากาแฟบางชนิดในโกดังที่ไม่มีการปรับอากาศมีลักษณะที่เป็นที่ต้องการมากกว่า กาแฟที่เก็บไว้ในโกดังที่มีการปรับอากาศหลังจากระยะเวลาการจัดเก็บ 9 ถึง 12 เดือนอีกด้วย ในด้านสิ่งแวดล้อมยังสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ในขณะที่ยังคงคุณภาพกาแฟไว้ ซึ่ง Sucafina Specialty กล่าวว่า “การปรับอากาศในคลังสินค้าไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพกาแฟ การย้ายกาแฟไปยังสถานที่จัดเก็บที่ไม่มีการปรับอากาศ ทำให้เราสามารถลดต้นทุนการจัดเก็บโดยรวม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยังคงส่งมอบกาแฟคุณภาพเยี่ยมถึงมือผู้บริโภคได้อีกด้วย”


ทีมงานได้เลือกกาแฟเกรดต่างๆ ทั้งแบบพิเศษและเชิงพาณิชย์

เพื่อเก็บไว้ในโกดัง 2 แห่งใน Tsuen Wan เกาะฮ่องกง

โดยแห่งหนึ่งมีการปรับอากาศและอีกแห่งหนึ่งไม่มีการปรับอากาศ



“การทดสอบครั้งนี้เป็นเพียงแนวทางของเราที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนของการจัดเก็บกาแฟ อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บกาแฟไว้ในโกดังที่ไม่มีการปรับอากาศ ยังคงขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นจึงมีปัจจัยอีกพอสมควรที่ต้องมีการทำการทดสอบต่อไปในอนาคต” Sucafina Specialty กล่าวสรุปตอนท้าย


ภาพถ่ายในบทความ เป็นภาพเพื่อประกอบบทความเท่านั้น ไม่ใช่ภาพถ่ายในพื้นที่วิจัย

97 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page