top of page
Writer's picturecoffeetravelermag

หนึ่งต้นกล้า “พันธุ์ไทย” สร้างคุณค่าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ



" ในปัจจุบัน ผืนป่าของไทยลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี โดยจากปี 2566 ถึงปี 2567 ประเทศไทยได้มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ถึง 317,819.20 ไร่ จากปี 2565 ที่มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดรวม 102,135,974.9 ไร่ และนั่นทำให้ปัจจุบัน ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดเพียง 101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.47 ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น "


ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรหลากหลายมากที่สุดในโลก ด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในจุดที่เอื้อต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จึงทำให้ประเทศไทย เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง แต่ในปัจจุบันพบว่าทรัพยากรสำคัญหลายอย่าง เริ่มลดลงอย่างน่าใจหาย โดยเฉพาะ ทรัพยากรป่าไม้ จากข้อมูลของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ได้รายงานถึงสถานการณ์ป่าไม้ในประเทศไทยพบว่า ในปัจจุบัน ผืนป่าของไทยลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี โดยจากปี 2566 ถึงปี 2567 ประเทศไทยได้มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ถึง 317,819.20 ไร่ จากปี 2565 ที่มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดรวม 102,135,974.9 ไร่ และนั่นทำให้ปัจจุบัน ประเทศไทยเหลือพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดเพียง 101,818,155.76 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 31.47 ของพื้นที่ประเทศเท่านั้น



การสูญเสียพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้น นอกจากปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าที่มักปรากฏเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งแล้ว สาเหตุอีกด้านหนึ่ง ก็เป็นผลพวงมาจากความต้องการพื้นที่ในการทำการเกษตรกรรม จนเกิดการรุกล้ำพื้นที่ป่า จนนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาครัฐ ผลกระทบต่อมาคือระบบนิเวศที่ลดลง จนเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง นอกจากนี้ วิถีเกษตรที่ใช้สารเคมี ยังส่งผลกระทบต่อธรรมชาติโดยรวม ตั้งแต่การเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบไปถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าแรงสะเทือนนั้น ย่อมแผ่ขยายไปถึงการดำรงชีวิต เศรษฐกิจและสังคม ดั่งหยดน้ำที่หยดจากที่สูง ลงมายังผิวน้ำ ย่อมเกิดคลื่นกระจายเป็นวงกว้าง แต่น่ากังวลว่าคลื่นที่กระจายนั้น อาจหมายถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่จนยากจะแก้ไขในอนาคต และเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน จึงพยายามหาหนทางแก้ไข โดยการรักษาป่าไม้ ไปพร้อม ๆ กับการสร้างอาชีพให้ชุมชนและหนึ่งในคำตอบนั้นก็คือ “กาแฟ”

หนึ่งต้นกล้า “พันธุ์ไทย” พลิกฟื้นป่าสู่ความยั่งยืน

ในยุคที่ “ความยั่งยืน” ไม่ใช่แค่คำฮิตติดปาก PTG และ กาแฟพันธุ์ไทย ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผสานแนวทางที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม จากความสำเร็จของของ “9 กาแฟดริปรักษ์โลกพันธุ์ไทย” คอลเลกชั่นพิเศษที่เปลี่ยนโฉมหน้าการผลิตกาแฟที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จากแนวคิดที่ไม่ได้เป็นเพียงผลิตภัณฑ์แต่ยังเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ที่ได้รับการบ่มเพาะทุกเมล็ดพันธุ์จากนักสร้างสรรค์กาแฟอนุรักษ์ท้องถิ่นทั้ง 9 ที่ไม่เพียงแต่ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์ผืนป่าเท่านั้น แต่ยังได้วางรากฐานสำหรับอาชีพที่ยั่งยืนภายในชุมชน พร้อมช่วยสร้างความตระหนักในการในการใส่ใจสิ่งแวดล้อม วันนี้ PTG และ กาแฟพันธุ์ไทย ได้สานต่อปณิธาน ที่อยากจะให้ทุกคนได้มีโอกาสในการเข้าถึงชีวิตที่ “อยู่ดี มีสุข” พร้อมสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม ด้วยการให้

ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเกษตรกรไทยให้มีองค์ความรู้ เพื่อยกระดับในทุกภาคส่วนของธุรกิจกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ


คุณพิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)

การผสานการปลูกกาแฟเข้ากับการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งจะนำไปสู่การทำการเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ผืนป่า ผ่านการจับมือกับ กรีโนเวท บริษัทในเครือ PTG ส่งเสริมเกษตรกรท้องถิ่น ตำบลปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ในปี 2566 พร้อมจัดตั้ง “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิกาบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน”


ภารกิจนี้คือการเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรไทย โดย PTG จะดูแลในส่วนของต้นน้ำ ผ่านการส่งเสริมแนวทางการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมการปลูกกาแฟใต้ร่มเงาไม้ในป่า รวมไปถึงพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า และพัฒนาพื้นที่ปลูกกาแฟ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ผลิตเมล็ดกาแฟที่ได้มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งเมล็ดกาแฟคุณภาพเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้ในร้านกาแฟพันธุ์ไทย ที่จะช่วยรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรในส่วนของปลายน้ำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ โดยไม่ต้องจากถิ่นฐานบ้านเกิด ออกไปทำงานในเมืองใหญ่


คุณจักรชลัช พิบูลธรรมศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีโนเวท จำกัด

ประเด็นสำคัญประการอีกหนึ่ง คือการผสานการปลูกกาแฟเข้ากับการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งจะนำไปสู่การทำการเกษตรร่วมกับการอนุรักษ์ผืนป่า ผ่านการจับมือกับ กรีโนเวท บริษัทในเครือ PTG ส่งเสริมเกษตรกรท้องถิ่น ตำบลปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ในปี 2566 พร้อมจัดตั้ง “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิกาบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน” ส่งเสริมแนวทางการปลูกพืชแบบวนเกษตรที่ช่วยให้ปลูกกาแฟได้อย่างกลมกลืนกับระบบนิเวศป่าไม้ เปลี่ยนพื้นที่ทำการเกษตรแบบดั้งเดิม การทำไร่เลื่อนลอย ให้มาปลูกกาแฟเพิ่มขึ้น พร้อมร่วมพัฒนาพื้นที่เขาหัวโล้น ให้กลายเป็นพื้นที่ป่ากาแฟที่อุดมสมบูรณ์

ซึ่งแนวทางนี้ไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้การเกษตรและการอนุรักษ์ดำเนินควบคู่กันไปได้ โดยตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน มีเกษตรกรเข้าร่วมแล้ว 24 ท่าน ร่วมกันปลูกกาแฟมาแล้ว 68,000 ต้น บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ โดยกาแฟพันธุ์ไทยได้เข้าไปส่งเสริมการปลูกกาแฟ พร้อมรับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโดยตรง ในราคาที่เป็นธรรม โดยมีเป้าหมายคือการรับซื้อกาแฟสารให้ได้ 8,000 ตัน จากพื้นที่กว่า 30,000 ไร่เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรกว่า 10,000 ครัวเรือน ภายในระยะเวลา 5 ปีนี้


คุณสุขวสา ภูชัชวนิชกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด

“ถ้า PTG เป็นต้นน้ำในการส่งเสริมเกษตรกร กาแฟพันธุ์ไทยก็จะเป็นปลายน้ำที่จะรับซื้อผลผลิต” เป้าหมายสำหรับความยั่งยืนของ PTG และ กาแฟพันธุ์ไทยไม่ใช่แค่เพียงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมไปถึงการส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกรในท้องถิ่น และการผสมผสานการปลูกกาแฟกับการอนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งถือเป็นการกำหนดมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมกาแฟ ความคิดนี้ไม่ได้มุ่งหวังแค่การผลิตกาแฟคุณภาพสูงเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนที่ผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมสามารถเติบโตไปด้วยกัน จากต้นกล้า “พันธุ์ไทย” ที่ถูกปลูกลงดิน จะเติบโตและพัฒนาขึ้น เพื่อสร้างคุณค่าให้อุตสาหกรรมกาแฟจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และพิสูจน์ว่า ชีวิตที่มั่งคั่งและมีความสุข สามารถบรรลุได้ด้วยความกลมกลืนกับธรรมชาติ และด้วยการทำเช่นนี้ พวกเขาจะสามารถสร้างมรดกแห่งความยั่งยืนที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไปได้อีกด้วย



" ความคิดนี้ไม่ได้มุ่งหวังแค่การผลิตกาแฟคุณภาพสูงเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนที่ผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมสามารถเติบโตไปด้วยกัน "


 

Coffee Traveler 

เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ

และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ

- - -

สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX

Facebook Coffee Traveler 

Youtube : Coffee Traveler 

66 views0 comments

Recent Posts

See All

תגובות


bottom of page