top of page

Coffee Traveler Issue 52




การรวมตัวของต้นกาแฟจำนวนมากเข้าด้วยกันนั้น ทำให้เกิดศัตรูพืชซึ่งกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งกว่า 80% นั้นมักจะพบหนอนเจาะลำต้นกาแฟ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็น Talk of the town ของประเทศไทยคงหนีไม่พ้นปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าโดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศ เกษตรกรบนพื้นที่สูงจำเป็นที่จะต้องดิ้นรนเพื่อนำเงินมาเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัว และบวกกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวที่ให้ผลผลิตมาก เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องทำการถางพื้นที่ป่าเพื่อทำเป็นพื้นที่เกษตรกรรม การปลูกกาแฟเชิงเดี่ยวหรือการปลูกกลางแจ้งก็เช่นกัน ความต้องการของกาแฟในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วยังขายได้ราคาสูง เกษตรกร จึงต้องการพื้นที่ปลกู ที่มากขึ้นทำให้ต้องเข้าไปลุกล้ำ พื้นที่ป่า เนื่องจากพื้นที่ส่วนมากเป็นพื้นที่ลาดเอียงตามไหล่เขา เกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่ก่อนปลูก โดยการตัดไม้และเผาวัชพืช เพื่อให้ได้พื้นที่โล่งและเรียบเหมาะกับการปลูกกาแฟ เราจึงเห็นภูเขาหัวโล้นกันมานักต่อนักแล้ว ด้วยความที่ว่ากาแฟถือเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งและมีความต้องการในตลาดสูง แถมยังราคาดี เกษตรกรจึงหันมามองภาพรวมของการทำเกษตรจากเม็ดเงินและผลกำไรเป็นหลัก การทำไร่กาแฟแบบเชิงเดี่ยวจึงกลายมาเป็นดาวเด่นให้เกษตรกรหันมาเลือกทำ เพราะได้ผลผลิตมากในระยะเวลาที่รวดเร็ว แต่ก็ต้องแลกมากับพื้นที่ป่าที่มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง


แต่ไหนแต่ไรมาแล้วต้นกาแฟนั้นอาศัยอยู่ในป่า แต่เพราะความต้องการของมนุษยท์ ี่มากขึ้น จึงจำเป็น ที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีก ารปลูก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในตลาด การทำไร่กาแฟแบบฟาร์มเชิงเดี่ยวจึงเป็นที่นิยมขึ้นมา แต่การรวมตัวของต้นกาแฟจำนวนมากเข้าด้วยกันนั้นทำให้เกิดศัตรูพืช ซึ่งกาแฟที่ปลูกในสภาพกลางแจ้งกว่า 80% นั้น มักจะพบหนอนเจาะลำต้นกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป รวมถึงการติดเชื้อราและโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ส่วนหนึ่งของความอ่อนแอต่อโรคที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากความเครียดที่ต้นกาแฟโดนแดดจัดหรือได้รับความเข้มของแสงที่มากเกินไป นอกจากนี้ การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลาหลายปีจะทำลายดิน โดยการไปลดค่า pH ของดินและปริมาณอินทรียวัตถุ

รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของแบคทีเรียและเชื้อราในดินด้วย ทำให้ได้ผลผลิตน้อยลง และอีกปัจจัยหนึ่งคือ การไปย่อยสลายสารต่างๆ ในดินทำให้ดินไม่ได้รับการเติมธาตุอาหารจากพืชชนิดอื่น (การทับถมของใบไม้) ดังนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีลงในดิน และเมื่อเกิดการชะล้างด้วยน้ำฝน ระบบนิเวศโดยรอบจะประสบกับผลเสียตามมา ซึ่งหนึ่งในผลที่ตามมาเรียกว่า ยูโทรฟิเคชัน (Eutrophication) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อปุ๋ยส่วนเกินที่มีไนเตรต (Nitrate) ถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำ ซึ่งหากมีมากเกินไปก็จะส่งผลให้สาหร่ายและวัชพืชในแหล่งน้ำเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว และเมื่อสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ล้มตาย ซากพืชและสาหร่ายจะจมลงสู่ท้องน้ำ แบคทีเรียจะทำการย่อยสลายซากพืช โดยการดึงออกซิเจนจากแหล่งน􀄞้ำมาใช้ในปริมาณมาก ทำให้แหล่งน้ำเกิดภาวะขาดออกซิเจน



 

Coffee Traveler

เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ

และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ

- - -

สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX Facebook Coffee Traveler

Instagram : coffeetraveler_magazine

Youtube : Coffee Traveler

Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag

4 views0 comments
bottom of page