top of page

กาแฟอะราบิกาสายพันธุ์ใหม่พร้อมส่งต่อเกษตรกรภายในปี 2566


เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2565 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้แจ้งข่าวกาแฟอะราบิกาสายพันธุ์ใหม่ หลังจากร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวงในการวิจัยในพื้นที่ของ สวพส. และโครงการหลวงเอง ตั้งแต่ปี 2557 โดยเริ่มต้นจากการสำรวจและรวบรวมสายพันธุ์ที่ค้นพบในพื้นที่ ก่อนจะนำมาคัดเลือกและทดสอบการเจริญเติบโต โดยคำนึงถึงการให้ผลผลิตที่สูง ความทนทานต่อโรคราสนิม และรสชาติที่ดี เพื่อใช้เป็นสายพันธุ์ส่งเสริมเกษตรกรได้นำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกทดแทนต้นเดิมที่ให้ผลผลิตน้อยและอ่อนต่อโรคราสนิม หลังผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้วสามารถคัดเลือกได้ออกมา 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ RPF – C3 จากแหล่งพันธุ์อ่างขาง และ RPF – C4 จากแหล่งพันธุ์อินทนนท์ ซึ่งทั้งสองเป็นสายพันธุ์คาติมอร์ ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564 มีลักษณะเป็นพุ่มทรงสามเหลี่ยม สูงประมาณ 1.5 เมตร ข้อและปล้องสั้น เหมาะกับการปลูกบนความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป และควรปลูกใต้ไม้ให้ร่มเงาในป่าธรรมชาติเพื่อต้นกาแฟจะได้ออกผลผลิตที่มีคุณภาพ หลังผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้วสามารถคัดเลือกได้ออกมา 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ RPF – C3 จากแหล่งพันธุ์อ่างขาง และ RPF – C4 จากแหล่งพันธุ์อินทนนท์

ข้อสังเกตุที่เห็นได้ชัดของ 2 สายพันธุ์นี้ คือจะให้ผลผลิตเชอร์รี่กาแฟเฉลี่ย 3.815 – 4.030 กิโลกรัมต่อต้น สูงกว่าค่าเฉลี่ยของสายพันธุ์เดิม 2 กิโลกรัมต่อต้น เมล็ดกาแฟดิบหรือ Green Coffee ขนาดใหญ่ และที่สำคัญคือทนทานต่อโรคราสนิม โดยระหว่างการปลูกทดลองไม่พบการเกิดโรคในระยะต้นกล้าและต้นพันธุ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรผู้ปลูกกาแฟที่ต้องการหาทางเลือกที่ดีกว่ามาทนแทนต้นเดิมที่อาจจะให้ผลผลิตไม่มาก ทั้งยังอ่อนต่อโรค นอกจากนี้ทั้ง 2 สายพันธุ์ยังได้ Cupping Score อยู่ที่ 80 – 81 คะแนน ผ่านเกณฑ์การเป็นกาแฟพิเศษตามมาตรฐานของ SCA ด้วยรสชาติ Citrus และ Lemon tea ของสายพันธุ์ RPF - C3 ในขณะที่ RCF – C4 ให้รสชาติโทน Pineapple Almond และ Buttle เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่กำลังมองหาความแปลกใหม่เลยก็ว่าได้


ในปีการผลิต 2566 ต้นกล้ากาแฟทั้งสองสายพันธุ์จะถูกส่งต่อให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และ สวพส.


ปัจจุบันต้นกาแฟในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์อายุได้ 2 ปีแล้ว จากการเก็บผลผลิตและเพาะเมล็ดเมื่อปี 2563 ก่อนนำไปเพาะเมล็ดต่ออีกในปี 2564 และตอนนี้เริ่มให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ในปี 2565 อย่างไรก็ตามคาดว่าในปีการผลิต 2566 ต้นกล้ากาแฟทั้งสองสายพันธุ์จะถูกส่งต่อให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการหลวง และ สวพส. เช่น ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างโครงการหลวงวาวีและแม่สลอง รวมไปถึงพื้นที่โครงการอื่น ๆ ประมาณ 5,000 – 10,000 ต้น

เครดิตข้อมูลและภาพ : https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/1544 ------------------------------- Coffee Traveler

เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ

และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ

- - -

สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX Facebook Coffee Traveler

Youtube : Coffee Traveler

362 views0 comments

Comments


bottom of page